แชร์

ไคโรแพรกติก รักษาง่าย ไม่ต้องผ่าตัด

อัพเดทล่าสุด: 8 ส.ค. 2024
444 ผู้เข้าชม
ไคโรแพรกติก รักษาง่าย ไม่ต้องผ่าตัด

ไคโรแพรกติก หรือ Chiropractic คือ ศาสตร์ฟวิชาการแพทย์ไคโรแพรกติก Chiropractic เป็นแขนงการดูแลสุขภาพ
Chiropractic เป็นภาษากรีก ซึ่งคำว่า Cheir และ Praktikas มาผสมกัน ซึ่งความหมายก็คือ รักษาด้วยมือ

โคโรแพรกติก (Chiropractic) ไม่ใช่การตั้งหน้าตั้งตากด ดัด จัด เรียงกระดูกของคนไข้ให้เข้าที่อย่างที่บางคนเข้าใจ แต่เป็นการใช้มือของผู้บำบัด (ที่เรียนมาทางด้านนี้โดยตรงจนมีความชำนาญการ) ทำเทคนิค manipulaion คือ ดึง ดัด กระชากเบาๆ เพื่อให้กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ของผู้รับการบำบัด ซึ่งชักจะบิดๆ ผิดไปจากที่ควร กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

ส่วนที่จะได้รับการเน้นเป็นสำคัญในการทำไคโรแพรกติก หรือนวดจัดกระดูกคือกระดูกสันหลังตลอดแนว ตั้งแต่ส่วนคอลงไปถึงก้นกบ ซึ่งด้านในกระดูกสันหลังจะมีลักษณะกลวง เป็นที่อยู่ของเส้นประสาท และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูกคั่น การที่การเรียงตัวของกระดูกสันหลังบิดเบี้ยวไป

ผู้ให้การบำบัดด้วยศาสตร์ไคโรแพรกติก หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่านวดจัดกระดูกนี้ เรียกว่า Chiropractor (ไคโรแพรกเตอร์) หรือถ้าจะแปลอาจเรียกว่า นักไคโรแพรกติกบำบัด ทำนองเดียวกับเรียกผู้ทำกายภาพบำบัดว่านักกายภาพบำบัดนั่นเอง

ไคโรแพรกติก ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการใดได้บ้าง?
แม้หลายคนจะไปหาไคโรแพรกเตอร์เพื่อให้รักษาอาการปวดเมื่อย ออฟฟิศซินโดรม แต่ความจริงแล้วศาสตร์ไคโรแพรกติก หรือที่หลายคนเรียกว่านวดจัดกระดูกนั้น มุ่งเน้นที่ การป้องกัน ก่อนเกิดความผิดปกติหรืออาการร้ายแรงของโครงสร้างกระดูกและข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย

อาการที่มักรักษาได้ด้วยการทำไคโรแพรกติก

- ปวดหลัง
- ปวดคอ
- ปวดศีรษะ
มักให้ผลดีในอาการปวดที่มาจากการผิดท่า ยกของหนัก หรือถูกกระแทก ซึ่งเพิ่งมีอาการในระยะเวลาไม่เกิน 6 สัปดาห์

ขั้นตอนการนวดจัดกระดูกหรือทำไคโรแพรกติก
เมื่อไปถึงคลินิก ไคโรแพรกเตอร์จะให้คุณเปลี่ยนเครื่องแต่งกายที่สวมใส่สบาย จากนั้นทำการซักประวัติ เช่น ถามถึงพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ท่านั่ง ท่าเดิน ท่ายืน อาการบาดเจ็บที่เคยเป็นมาก่อน การออกกำลังกาย ฯลฯ พร้อมกับตรวจส่วนต่างๆ ของร่างกาย

การดัด ดึง กด จุดต่างๆ มีทั้งทำขณะที่คุณอยู่ในท่ายืน หรือนอนบนเตียงสำหรับทำไคโรแพรกติก และไคโรแพรกเตอร์จะแนะนำท่าบริหารแก่ผู้เข้ารับการบำบัด ให้กลับไปทำที่บ้านต่อด้วย

ระหว่างบำบัดคุณอาจได้ยินเสียงเป๊าะหรือแกร๊บได้ เนื่องจากข้อต่อเคลื่อนที่

บางกรณี ไคโรแพรกเตอร์อาจส่งผู้รับการบำบัดไปทำการเอกซเรย์เพิ่ม เพื่อให้รู้จุดที่ผิดปกติอย่างชัดเจน แม่นยำ

การบำบัดนี้ไม่มีการใช้ยาและผ่าตัด ทำนองเดียวกับการทำกายภาพบำบัด

ไคโรแพรกติก ต้องบำบัดกี่ครั้ง?
ขึ้นอยู่กับอาการที่คุณเป็น แต่โดยมากแล้วควรรักษาอย่างต่อเนื่องราวๆ 6-10 ครั้ง

ไคโรแพรกติกต่างจากกายภาพบำบัดอย่างไร?
ไคโรแพรกติก และ กายภาพบำบัด เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยา ไม่ใช้การผ่าตัด ทั้งคู่ ความต่างคือไคโรแพรกติกเน้นรักษาด้วยการใช้มือดัด ดึง กระแทกให้ข้อต่อต่างๆ อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ร่วมกับการใช้เครื่องมือบางอย่างช่วย

ส่วนกายภาพบำบัดนั้นมีการรักษาหลายแนวทาง มีแขนงย่อยลงไปอีกหลายสาขา และมีการใช้เครื่องมือร่วมด้วยมากกว่า โดยรวมจะใช้การดึงหรือกระชากน้อยกว่าไคโรแพรกเตอร์มาก เพราะเชื่อว่าใช้ไม่ได้กับทุกอาการ และอาจทำให้เกิดการอักเสบมากกว่าเดิม

ข้อควรระวังสำหรับการบำบัดด้วยไคโรแพรกติก
ตามปกติแล้วการทำไคโรแพรกติก หรือที่นิยมเรียกว่า นวดจัดกระดูก ค่อนข้างปลอดภัย หากทำโดยไคโรแพรกเตอร์ที่ผ่านการเรียน ฝึกฝน และได้รับใบรับรอง

ไม่ควรทำไคโรแพรกติกหากคุณมีอาการหรือภาวะต่อไปนี้

ภาวะกระดูกพรุนอย่างรุนแรง
อาการเหน็บ ชา หรือแขนขาอ่อนแรง
มะเร็งที่กระดูกสันหลัง
ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
กระดูกต้นคอผิดปกติ
ความปลอดภัยของไคโรแพรกติก
การทำไคโรแพรกติกเป็นการรักษาทางเลือก สำหรับแก้ปัญหากล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ในประเทศไทยยังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนวิชานี้ (ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2563) ไคโรแพรกเตอร์ที่ทำการบำบัดจึงมักจบการศึกษาจากต่างประเทศ

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้บุคคลทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยศาสตร์ไคโรแพรกติกได้ โดยจะต้องเป็นบุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามคณะกรรมการกำหนด และผ่านการสอบภาคทฤษฎีและสอบสัมภาษณ์เป็นเวลา 2 วัน

เมื่อสอบผ่าน ได้ใบประกอบโรคศิลปะแล้ว ยังมีข้อกำหนดว่าไคโรแพรกเตอร์จะต้องดำเนินการในสถานพยาบาลเท่านั้น


ขอบคุณบทความดีๆ : www.facebook.com/thaichiro / https://hdmall.co.th/c/what-is-chiropractic-chiropractor

บทความที่เกี่ยวข้อง
รองช้ำ
อาการปวดบริเวณฝ่าเท้า อาการที่ดูไม่ร้ายแรงจนทำให้หลายคนมองข้าม แพราะมองว่าแค่ซื้อยาแก้ปวดรับประทานก็คงหาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจเป็นสัญญาณอันตรายทำให้เกิด ''โรครองช้ำ''
เท้าเด็กและปัญหาสุขภาพเท้า
เท้าของเด็กน้อย...สำคัญกว่าที่คิด ปัญหาสุขภาพเท้าที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
เท้าแบนในเด็ก (Flat Foot)
เรื่องจริงที่พ่อแม่ควรรู้
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy