Last updated: 10 Sep 2024
112 Views
เท้าของเด็กน้อย... สำคัญกว่าที่คิด ปัญหาสุขภาพเท้าที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ เท้าของเด็กน้อย นั้นเปรียบเสมือนรากฐานสำคัญในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย เพราะเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานหนักในการเดิน วิ่ง และกระโดด ซึ่งหากเท้าของเด็กมีปัญหาสุขภาพ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว การทรงตัว และการเจริญเติบโตในระยะยาวได้
ปัญหาสุขภาพเท้าที่พบบ่อยในเด็ก
- เท้าแบน: เท้าแบนเป็นปัญหาสุขภาพเท้าที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งหากเป็นเล็กน้อยก็จะไม่มีอาการใด ๆ ออกมาเลย ซึ่งสามารถเป็นตั้งแต่เกิดหรือเพิ่งมาเป็นเมื่อกระดูกมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้วก็ได้ โดยโครงสร้างเท้าของเด็กเล็กจะแตกต่างจากผู้ใหญ่ เมื่อมีการตั้งไข่และหัดเดิน การเดินจะไม่มีการถ่ายน้ำหนักจากส้นเท้าไปสู่ปลายเท้า ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนและเดิน พอเข้าอายุ 7-8 ปี โครงสร้างเท้าและอุ้งเท้าจะพัฒนาเหมือนผู้ใหญ่
วิธีสังเกต : สังเกตจากอุ้งเท้า เด็กที่เท้าแบนจะไม่มีอุ้งเท้า หรือใช้วิธีการปั๊มเท้าของเด็ก ถ้าปั๊มออกมา เห็นเท้าเต็ม ๆ ไม่มีส่วนเว้า นั่นแปลว่ามีโอกาสเป็นภาวะเท้าแบนได้
วิธีสังเกต: ดูได้จากอุ้งเท้า เด็กที่เท้าแบนจะไม่มีอุ้งเท้า หรือใช้วิธีการปั๊มเท้าของเด็ก ถ้าปั๊มออกมา เห็นเท้าเต็ม ๆ ไม่มีส่วนเว้า นั่นแปลว่ามีโอกาสเป็นภาวะเท้าแบนได้
- นิ้วเท้าเกหรือเอียงไป: นิ้วเกหรือนิ้วงุ้ม โดยทั่วไปในช่วงแรกเกิด นิ้วของเด็กจะคดงอค่อนข้างมาก แต่อาการนิ้วงอจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อโตขึ้น และมักไม่มีผลเสียอะไรชัดเจน ซึ่งหากนิ้วที่เกนั้นไม่ได้มีอาการอะไรที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้วล่ะก็ ส่วนมากแพทย์จะใช้การสังเกตอาการไปเรื่อย ๆ
วิธีสังเกต: นิ้วเกหรือเอียงมักพบในนิ้วนางและนิ้วก้อย ซึ่งลักษณะนิ้วเช่นนี้มักจะถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่สามารถสังเกตนิ้วเท้าของตัวเองเพื่อเปรียบเทียบกับของลูกได้
- เท้าบิดออกข้าง: เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพเท้าที่พบได้บ่อยพอ ๆ กับเท้าแบน พบบ่อยในเด็กท้องแรก เชื่อว่าเป็นจากการที่มดลูกของแม่ยังไม่เคยขยายตัวมาก่อน เมื่อเด็กโตขึ้นการขยับตัวลำบากเพราะถูกเบียดอยู่ในมดลูก เท้าไปยันกับผนังมดลูกอยู่หลายเดือน เมื่อคลอดออกมาเท้าจึงมีการกระดกหรือบิดออกข้างแบบผิดรูปค้างอยู่
วิธีสังเกต: หลังเท้าจะวางแนบไปกับกระดูกหน้าแข้ง โดยปกติแล้ว หลังคลอด เท้าของเด็กจะสามารถขยับได้อย่างเต็มที่ กินระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน แล้วอาการดังกล่าวก็จะหายไป
- โรคเท้าโค้ง: เป็นโรคที่เกิดจากส่วนครึ่งหน้าของเท้าโค้งเข้า โรคนี้อาจพบร่วมกับข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด จึงมีความสำคัญที่จะต้องตรวจร่างกายส่วนสะโพกให้ละเอียด หากไม่แน่ใจผลการตรวจ อาจพิจารณาตรวจอัลตราซาวนด์ของสะโพกร่วมด้วย
วิธีสังเกต: เมื่อมองเท้าจากด้านฝ่าเท้า จะเห็นขอบข้างของเท้าโค้ง หากเป็นไม่มากนัก ลองเอามือดัดดู อาจพบว่าเท้าถูกดันไปอยู่ในแนวตรงได้ ในเด็กกลุ่มที่มีอาการไม่มาก เมื่อสังเกตอาการไป เท้าอาจค่อย ๆ ตรงได้เองใน 6 12 เดือน แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงไม่สามารถดัดเท้าให้ตรงได้ควรรักษาโดยการใส่เฝือก
- โรคเท้าปุก: สำหรับโรคเท้าปุก เป็นความผิดปกติของรูปเท้าซึ่งมักเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรืออาจค่อย ๆ เกิดขึ้นในภายหลัง อาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้
วิธีสังเกต: เท้าจะมีลักษณะที่บิดหมุนเข้าด้านในและปลายเท้าจิกลง ขอบข้างของเท้าโค้งมาก และเท้าอยู่ในท่าเขย่งเมื่อจับเท้าขยับดูจะพบว่าขยับเท้าได้ยาก พราะข้อต่าง ๆ จะยึดตั้งแต่ปลายเท้าถึงข้อเท้า
การดูแลสุขภาพเท้าของเด็กตั้งแต่เล็ก เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพเท้าในระยะยาว และส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบุตรหลาน
หมายเหตุ: บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ หากมีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คำแนะนำเพิ่มเติม:
- คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้า เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเท้าของบุตรหลานได้
- การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพเท้าบางชนิดได้
- การเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมให้บุตรหลานทำ เช่น การว่ายน้ำ หรือการเดินป่า อาจช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง
- การเลือกรองเท้าสุขภาพที่เหมาะสม ช่วยป้องกัน การเกิดปัญหาสุขภาพเท้าได้
เลือกซื้อรองเท้าสุขภาพเด็ก MAGO FOOTWEAR
ช่องทางอื่นๆ คลิกเลย
Shopee I Lazada I Tiktok